วันสมาธิโลก

ความเป็นมา “วันสมาธิโลก” 

ภัยที่ร้ายแรงที่สุดของมนุษยชาติก็คือ “สงคราม” ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้นมาเอง และตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของโลกนี้ ก็ยังไม่เคยมียุคใดว่างเว้นจากสงครามอย่างเด็ดขาดได้เลย คำว่า “สันติภาพ” จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลกพากันแสวงหามาโดยตลอด

วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการนำระเบิดปรมาณูที่มีอานุภาพร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ไปปล่อยลงที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในคราวเดียวถึงหลายแสนคน  เหตุการณ์อันเจ็บปวดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ทำให้ชาวโลกตระหนักถึงภัยอันใหญ่หลวงของสงคราม จึงได้พยายามร่วมมือกันจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมา เพื่อรักษาสันติภาพให้แก่ประชาคมโลกนั่นคือ องค์การสหประชาชาติ

ในการประชุมขององค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (ย พ ส ล.) ปี พ.ศ. 2531 ได้เห็นความสำคัญของการทำสมาธิ ทั้งนี้เพราะการทำสมาธิเป็นของสากล ที่ชาวโลกทุกคนสามารถปฏิบัติได้ ดังนั้น ย พ ส ล. จึงกำหนดเอาวันที่ 6 สิงหาคม เป็นวันสมาธิโลก เพื่อกระตุ้นเตือนให้ชาวโลก หันมาสร้างสันติภาพด้วยวิถีทางที่สงบปราศจากความ รุนแรง และรณรงค์ให้ชาวโลกหันมาให้ความสำคัญ กับการนั่งสมาธิ เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในจิตใจ ของมวลมนุษยชาติ อันจะเป็นทางมาของการอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้ได้อย่างผาสุกสืบไป