ผลงานหลวงพ่อธัมมชโย

โครงการด้านศาสนา

1.1 โครงการด้านการคณะสงฆ์

วัดพระธรรมกายเป็นวัดในนิกายเถรวาทสังกัดมหานิกายอยู่ภายใต้การปกครองของคณะสงฆ์ (มหาเถร-สมาคม) ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขโดยมีผู้ปกครองตามลำดับชั้นดังนี้คือเจ้าคณะใหญ่หนกลาง, เจ้าคณะภาค๑, เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี, เจ้าคณะอำเภอคลองหลวงและเจ้าคณะตำบลคลองสี่ 
ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาวัดพระธรรมกายให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของการคณะสงฆ์เป็นอย่างดีเสมอมาทั้งนี้เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคณะสงฆ์ไทยและเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองดังเช่นในอดีตกาล
  • จัดสวดมนต์ตามมติมหาเถรสมาคมร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้ปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคมอย่างตลอดต่อเนื่อง อาทิ เจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙, สวดมนต์ข้ามปี เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 
  • จัดพิธีมุทิตาสักการะพระภิกษุ-สามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนสิงหาคม เริ่มปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ล่าสุดจัดเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นครั้งที่ ๓๑ โดยมีพระภิกษุเปรียญธรรม ๙ ประโยค ร่วมรับถวายมุทิตาตั้งแต่ปีแรกถึงปัจจุบัน จำนวน ๑,๓๗๕ รูป
  • จัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์จำนวนกว่า ๓๐,๐๐๐ วัดทั่วประเทศ ในวันที่ ๒๒ เมษายน ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองโลกของทุกปี ล่าสุดจัดเมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ปีที่ ๑๘)  
  • จัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์กว่า ๓,๐๐๐ วัดทั่วประเทศ เนื่องในวันสมาธิโลกของทุกปี ล่าสุดจัดถวายสังฆทาน ปีที่ ๑๙ เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
  • ถวายปัจจัยสนับสนุนการสอบบาลีประจำจังหวัดเป็นประจำทุกปี 
  • จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทร่วมกับคณะสงฆ์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
  • สนับสนุนการสอบธรรมสนามหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยให้ความร่วมมือเรื่องสถานที่สอบเป็นประจำทุกปี แต่ละครั้งมีภิกษุ-สามเณรเข้าสอบจำนวนกว่า ๑,๐๐๐ รูป

1.2 โครงการพัฒนาศาสนบุคคล

การพัฒนาศาสนบุคคลเป็นเรื่องที่วัดพระธรรมกายให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ตามแนวคิด“สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระแท้ และสร้างคนให้เป็นคนดี” ที่มีมาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด ดังนั้นวัดพระธรรมกายจึงทำงานสร้างคนมาตลอดควบคู่ไปกับการสร้างวัด จนกระทั่งปัจจุบันมีพุทธศาสนิกชนทั้งในและต่างประเทศผ่านการอบรมในโครงการต่าง ๆ ของวัดนับล้านคน และมีจำนวนไม่น้อยที่บังเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้า อุทิศชีวิตบวชเป็นพระภิกษุ สามเณร หรือมาเป็นอุบาสก อุบาสิกา ช่วยกันทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน
  • โครงการอบรมธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่ระดับอุดมศึกษา ภาคฤดูร้อน เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ อบรมธรรมทายาทโดยฝึกสมาธิเป็นหลัก มีผู้สนใจเข้าอบรมเบื้องต้น ๕๐ คน ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงปรับให้ธรรมทายาทเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท สถิติ พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๖๐ มีผู้ผ่านการอบรมแล้ว ๑๒,๕๐๐ กว่ารูป  
  • โครงการอบรมธรรมทายาทและอุปสมบทหมู่รุ่นเข้าพรรษา เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ สถิติถึง พ.ศ. ๒๕๖๐ รวม ๓,๐๐๐ กว่ารูป
  • โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรมหลวงพ่อธัมมชโย เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ในวาระที่หลวงพ่อธัมมชโยอายุครบ ๕๐ ปี และจัดโครงการต่อเนื่องทุกปี สถิติถึง พ.ศ. ๒๕๖๐ รวม ๒,๗๗๑ รูป ปัจจุบันเป็นรุ่นวันคุ้มครองโลก
  • โครงการอุปสมบทหมู่ระดับผู้บริหาร เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ระหว่างวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน -๑๒ ธันวาคม ของทุกปี เป็นระยะเวลา ๒๓ วัน
  • โครงการอุปสมบทหมู่ครูผู้นำฟื้นฟูศีลธรรมโลกช่วงเดือนเมษายน เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒- ๒๕๕๕
  • โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรมคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เริ่มต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ในวาระครบ ๑๐๐ ปี คุณยายอาจารย์ฯ และจัดโครงการต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันเป็นรุ่นบูชาธรรม ๑๐๙ ปี คุณยายอาจารย์ฯ สถิติถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมกว่า ๑,๑๗๖ รูป
  • โครงการอุปสมบทหมู่ ๑ แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย จัดครั้งแรกระหว่างวันที่ ๑๙ มกราคม – ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ จัดบวชในช่วงภาคฤดูร้อนและช่วงเข้าพรรษาของทุกปี ปัจจุบันจัดบวชเป็นครั้งที่ ๑๘ (รุ่นเข้าพรรษา ปี พ.ศ. ๒๕๖๑)
  • โครงการอุปสมบทหมู่นักเรียนนายร้อยทหาร-ตำรวจ จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๔๒ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทกว่า ๕๐๐ รูป
  • โครงการอบรมสามเณรยุวธรรมทายาทระดับประถมปลาย รับอบรมเยาวชนอายุ ๑๐-๑๒ ปี เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ล่าสุดเป็นรุ่นที่ ๒๗ จัดอบรมระหว่างวันที่ ๑-๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สถิติผู้เข้าอบรมสามเณรถึง พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมกว่า ๗,๐๐๐ รูป
  • โครงการสามเณรเปรียญธรรม เพื่อรับเป็นสามเณรประจำของวัดพระธรรมกาย เริ่มโครงการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ปัจจุบันมีสามเณรประจำในวัดพระธรรมกายกว่า ๔๐๐ รูป
  • โครงการอบรมสามเณรมัชฌิมธรรมทายาทระดับมัธยมปลาย เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗, ระดับมัธยมต้น เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ ล่าสุดรุ่นที่ ๒๓ จัดอบรมระหว่างวันที่ ๒ เมษายน – ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สถิติถึง พ.ศ. ๒๕๖๑ มีผู้เข้าร่วมอบรมสามเณร จำนวน ๓,๗๐๐ กว่าคน  
  • โครงการบรรพชาสามเณรแก้ว จำนวน ๑๓,๘๔๒ รูป เพื่ออัญเชิญ “พระบรมพุทธเจ้า” ประดิษฐาน ณ พระมหาธรรมกายเจดีย์ จัดพิธีบรรพชาเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑
  • โครงการอบรมสามเณรยุวชนรอบวัด เริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ล่าสุดจัดบรรพชาสามเณรยุวชนรอบวัด รุ่นที่ ๗ เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า ๖๐๐ คน
  • โครงการหน่อแก้วเปรียญธรรม เริ่มอบรมครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เปิดรับสมัครเยาวชนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ เข้าอบรมในภาคฤดูร้อน ปัจจุบันอบรมรุ่นที่ ๗ ระหว่างวันที่ ๑-๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการกว่า ๑,๐๐๐ คน
  • โครงการบรรพชาสามเณรมัธยมปลายต้นแบบ สู่ AEC รับนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓-๖ หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเข้าร่วมโครงการ อบรมระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม – ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๗ มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการกว่า ๖,๐๐๐ คน
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ธรรมทายาทนานาชาติ (IDOP : International Dhammadayada Ordination Program) เริ่มการอบรมชาวต่างชาติในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีการอบรมทั้งพระภิกษุและสามเณร ปัจจุบันมีชาวต่างประเทศมาบรรพชาอุปสมบทในโครงการ IDOP ที่วัดพระธรรมกายแล้วถึง ๑,๐๐๐ กว่าคน จาก ๕๕ ประเทศทั่วโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, บังกลาเทศ, เบลเยียม, บราซิล, บรูไน, ภูฏาน, กัมพูชา, แคนาดา, จีน, ชิลี, โคลัมเบีย, คองโก, สาธารณรัฐเช็ก, เดนมาร์ก, เอธิโอเปีย, เอสโตเนีย, ฟิจิ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีนแลนด์, ฮ่องกง, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิตาลี, โซโลมอน, ไอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, เคนยา, เกาหลีใต้, สปป.ลาว, เลบานอน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, มองโกเลีย, เนปาล, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, นอร์เวย์, ปานามา, โปรตุเกส, โรมาเนีย, รัสเซีย, สิงคโปร์, ศรีลังกา, สเปน, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ไต้หวัน, ไทย, อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, ยูกันดา, เวียดนาม และเวอร์จินไอร์แลนด์
  • โครงการอบรมธรรมทายาทภาคภาษาจีน เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ธรรมทายาทภาคภาษากัมพูชา เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๒
  • โครงการบรรพชาสามเณรโรงเรียนนานาชาติ เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙ ล่าสุดเป็นรุ่นที่ ๑๑ อบรมระหว่างวันที่ ๑๖ กรกฎาคม – ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ 
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทธรรมทายาทชาวญี่ปุ่น เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๒๔ รูป รุ่นล่าสุด (ครั้งที่ ๑๐) บวชเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ 
  • โครงการอุปสมบทสามเณรอุทิศชีวิต จัดครั้งแรกวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เปลี่ยนมาจัดพิธีอุปสมบทในวันวิสาขบูชา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ล่าสุดจัดอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
  • โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรมพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จัดครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ในวาระครบ ๑๒๙ ปี วันคล้ายวันเกิดหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ปัจจุบันเป็นรุ่นบูชาธรรม ๑๓๓ ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 
  • โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรม วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย จัดครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ในวาระครบ ๙๙ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย และจัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ล่าสุดจัดเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ในวาระครบ ๑๐๐ ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย 
  • โครงการอุปสมบทหมู่บูชาธรรมหลวงพ่อทัตตชีโว เริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ในวาระวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่ออายุครบ ๗๔ ปี รุ่นล่าสุดบวชเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ในวาระครบ ๗๗ ปี หลวงพ่อทัตตชีโว
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่รุ่นบูชาธรรม ๔๘ พรรษา หลวงพ่อธัมมชโย จัดขึ้นครั้งแรกในวาระ ๔๘ พรรษา หลวงพ่อธัมมชโย ล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม – ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยใช้ชื่อว่า โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่รุ่นวันธรรมชัย 
  • โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่รุ่นวันคุ้มครองโลก เริ่มปี พ.ศ. ๒๕๖๑ จัดอบรมระหว่างวันที่ ๗ เมษายน – ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

1.3 โครงการศาสนศึกษา

วัดพระธรรมกายให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งที่มีผลต่อความมั่นคงยืนยาวของพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงให้การสนับสนุนการเรียนพระปริยัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ตลอดมา จนกระทั่งในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า วัดพระธรรมกายมีผู้สำเร็จการศึกษาขั้นสูงของการคณะสงฆ์ไทย คือ เปรียญธรรมประโยค ๙ มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย การเรียนการสอนพระปริยัติธรรมครั้งแรกในวัดพระธรรมกายเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีผู้เรียน คือ สามเณร ๕ รูป จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๑) มีผู้เรียน จำนวน ๖๗๑ รูป และมีผลการเรียนที่น่าพอใจทุกระดับชั้น ในปัจจุบัน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย จัดการเรียนการสอนทั้งแผนกบาลี แผนกธรรม แผนกอภิธรรม และแผนกภาษาต่างประเทศ 
1. บาลี / บาลีศึกษา
การศึกษาภาษาบาลีในวัดพระธรรมกายเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีการเรียนการสอนอย่างเข้มข้นตลอดมา ภายใต้การเอาใจใส่ดูแลของหลวงพ่อทั้งสองและพระอาจารย์ทุกท่าน ทำให้ผลการเรียนออกมาเป็นที่น่าพอใจ ดังตัวอย่างผลการสอบบาลีสนามหลวงเปรียญธรรม ๙ ประโยค นับตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ถึงพ.ศ. ๒๕๖๑ปรากฏว่าพระภิกษุ-สามเณรจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระธรรมกายสอบผ่านเปรียญธรรม๙ประโยคถึง๗๗รูป (พ.ศ. ๒๕๔๗ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือ ๙ รูป) และในปี พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๖๑มีอุบาสิกาวัดพระธรรมกายสอบผ่านบาลีศึกษา๙ประโยคจำนวน๗ท่าน 
2. นักธรรม / ธรรมศึกษา  
เปิดสอนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ในหลักสูตรนักธรรมตรีสำหรับพระภิกษุและธรรมศึกษาตรีสำหรับคฤหัสถ์ ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนครบทั้ง ๓ ชั้น คือ นักธรรมตรี โท เอก สำหรับพระภิกษุ-สามเณร
และธรรมศึกษาตรี โท เอก สำหรับคฤหัสถ์ และยังมีการเรียนการสอนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ด้วย จากปีที่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งนักธรรมและธรรมศึกษาเป็นจำนวนมาก
3. อภิธรรมศึกษา
การเรียนการสอนอภิธรรมศึกษาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเปิดสอน ๒ หลักสูตร คือ ๑. หลักสูตรพระอภิธรรมบัณฑิต ๙ ระดับชั้น ศึกษาคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ คัมภีร์ธัมมสังคณี ธาตุกถา ยมกะ และมหาปัฏฐานในพระไตรปิฎก และชั้นอาจารย์ คือ อภิธรรมกถิกะ ๓ ระดับชั้น และ อภิธรรมาจริยะ ๓ ระดับชั้น มีผู้สอบผ่านตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นสูงสุด จาก พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๐) จำนวน ๑,๖๐๐ ท่าน  ๒. หลักสูตรอภิธรรมศึกษาทางไกลสำหรับสาธุชนและผู้ที่สนใจศึกษาพระอภิธรรม เป็นหลักสูตร ๔ ชั้นปี สามารถศึกษาทางไกล และเข้าฟังการบรรยายได้ในวันอาทิตย์ตามสถานที่และวันเวลาที่กำหนด มีผู้ผ่านการศึกษาเบื้องต้นจนถึงชั้นสูงสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๖๐ กว่า ๔,๐๐๐ ท่าน
4. ภาษาต่างประเทศ
เนื่องจากหมู่คณะวัดพระธรรมกายมีมโนปณิธานที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย ออกไปสู่ประชาชนในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้นพระภิกษุ-สามเณรจึงควรมีความรู้และทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศอย่างเพียงพอ จะได้ไม่มีความยากลำบากในการเผยแผ่ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่ชาวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้โรงเรียนพระปริยัติธรรมจึงเปิดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศขึ้นหลายภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, สเปน และฝรั่งเศส เพื่อส่งเสริมให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปได้กว้างไกลและสะดวกยิ่งขึ้น  
นอกจากจัดการศึกษาในด้านต่าง ๆ แล้ว โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย ยังให้บริการด้านวิชาการแก่สถานศึกษาในเขตพื้นที่ โดยจัดส่งครูพระสอนศีลธรรมไปสอนธรรมและจัดสนามสอบธรรมศึกษาแก่สถานศึกษาในเขตอำเภอคลองหลวงที่สอบในสังกัดวัดพระธรรมกายหลายแห่ง ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต, โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา, โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง ๑, โรงเรียนสังข์อ่ำวิทยา และโรงเรียนวัดกลางคลองสาม 
ปัจจุบัน วัดพระธรรมกายยังเป็นสนามสอบธรรมสนามหลวงประจำอำเภอคลองหลวงทุกปี ซึ่งมีผู้สนใจสมัครเรียนและเข้าสอบแต่ละปีเป็นจำนวนมากทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ อาทิ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ฝ่ายนักธรรมมีพระภิกษุ-สามเณรสามารถสอบธรรมสนามหลวงได้ ๓๖๘ รูป แบ่งเป็นระดับนักธรรมชั้นตรี ๙๙ รูป ชั้นโท ๑๐๖ รูป และชั้นเอก ๑๖๓ รูป ส่วนฝ่ายธรรมศึกษามีคฤหัสถ์สอบได้ ๑,๐๕๑ คน แบ่งเป็นระดับธรรมศึกษาชั้นตรี ๔๗๖ คน ชั้นโท ๓๓๓ คน และชั้นเอก ๒๔๒ คน

1.4 โครงการสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 24 น.

บทสวด “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” เป็นพระธรรมเทศนาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งทำให้ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมบูรณ์ กล่าวคือ เมื่อทรงแสดงธรรมแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะก็บรรลุธรรมตาม ทำให้องค์แห่งพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บทสวดนี้จึงมีคุณค่าและความหมายอย่างยิ่ง ดังนั้นวัดพระธรรมกายจึงจัดให้มีโครงการสวดมนต์บทธัมมจักกัปปวัตนสูตร ๒๔ น. โดยเริ่มโครงการเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (วันอาสาฬหบูชา) ทั้งนี้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และบูชาพระมหาธรรมกายเจดีย์ พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าล้านพระองค์ อีกทั้งเพื่อให้สาธุชนผูกใจไว้กับพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งสิริมงคลและความดีงามนานัปการ และยังเป็นการช่วยเคลื่อนจักรแห่งธรรมสืบทอดอายุพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอีกด้วย โครงการนี้ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากกัลยาณมิตรทั่วโลก ทำให้ยอดสวดนับตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ มีจำนวนถึง ๖๖๒,๐๐๐,๐๐๐ จบ

สถิติการสวดธรรมจักร
  • – วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วันอาสาฬหบูชา เริ่มโครงการสวดธรรมจักรเป็นครั้งแรก
  • – วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วันธรรมชัย สวดธรรมจักรครบ ๑,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ๙๙ ปี สวดธรรมจักรครบ ๒,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วันคล้ายวันเกิด ๑๓๒ ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) สวดธรรมจักรครบ ๔,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สวดธรรมจักรครบ ๕,๕๕๕,๕๕๕ จบ 
  • – วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สวดธรรมจักรครบ ๖,๖๖๖,๖๖๖ จบ 
  • – วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วันลอยกระทง สวดธรรมจักรครบ ๗,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สวดธรรมจักรครบ ๗,๗๗๗,๗๗๗ จบ 
  • – วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สวดธรรมจักรครบ ๑๐,๑๐๑,๐๑๐ จบ 
  • – วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สวดธรรมจักรครบ ๑๑,๑๑๑,๑๑๑ จบ 
  • – วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ วันคล้ายวันเกิด ๗๖ ปี หลวงพ่อทัตตชีโว สวดธรรมจักรครบ ๑๒,๓๔๕,๖๗๘ จบ 
  • – วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันขึ้นปีใหม่ สวดธรรมจักรครบ ๑๔,๑๔๑,๔๑๔ จบ 
  • – วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันคล้ายวันเกิด ๑๐๘ ปี คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง สวดธรรมจักรครบ ๑๗,๑๙๑,๙๑๙ จบ 
  • – วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ วันมหาปูชนียาจารย์ สวดธรรมจักรครบ ๒๐,๐๐๐,๓๓๓ จบ 
  • – วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ วันมาฆบูชา สวดธรรมจักรครบ ๒๒,๐๐๑,๒๕๐ จบ 
  • – วันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สวดธรรมจักรครบ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ สวดธรรมจักรครบ ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วันคุ้มครองโลก, วันคล้ายวันเกิด ๗๓ ปี หลวงพ่อธัมมชโย สวดธรรมจักรครบ ๔๖,๔๖๔,๖๔๖ จบ 
  • – วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันวิสาขบูชา สวดธรรมจักรครบ ๕๕,๕๕๕,๕๕๕ จบ 
  • – วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันอาสาฬหบูชา สวดธรรมจักรครบ ๙๐,๐๐๐,๐๐๐ จบ 
  • – วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันธรรมชัย สวดธรรมจักรครบ ๑๓๕,๑๓๕,๑๓๕ จบ
  • – วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ๑๐๐ ปี สวดธรรมจักรครบ ๑๔๕,๑๔๕,๑๔๕ จบ
  • – วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันคล้ายวันเกิด ๑๓๓ ปี พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) สวดธรรมจักรครบ ๑๘๕,๑๘๕,๑๘๕ จบ 
  • – วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วันลอยกระทง สวดธรรมจักรครบ ๒๑๐,๒๑๐,๒๑๐ จบ
  • – วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วันคล้ายวันเกิด ๗๗ ปี หลวงพ่อทัตตชีโว สวดธรรมจักรครบ ๒๗๗,๗๗๗,๗๗๗ จบ 
  • – วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันขึ้นปีใหม่ สวดธรรมจักรครบ ๓๐๐,๐๐๒,๕๖๑ จบ 
  • – วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันคล้ายวันเกิด ๑๐๙ ปี คุณยายอาจารย์ฯ สวดธรรมจักร ครบ ๓๓๐,๐๑๙,๑๐๙ จบ 
  • – วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ วันมหาปูชนียาจารย์ สวดธรรมจักรครบ ๓๕๓,๓๓๓,๓๓๓ จบ 
  • – วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันมาฆบูชา สวดธรรมจักรครบ ๓๙๒,๐๐๑,๒๕๐ จบ 
  • – วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันสิ้นสุดโครงการธรรมยาตรา ปีที่ ๖ สวดธรรมจักรครบ ๔๓๔,๔๔๔,๔๔๔ จบ
  • – วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ วันคุ้มครองโลก สวดธรรมจักรครบ ๔๖๖,๖๖๖,๖๖๖ จบ 
  • – วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันวิสาขบูชา สวดธรรมจักรครบ ๕๑๕,๑๕๑,๕๑๕ จบ 
  • – วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันอาสาฬหบูชา สวดธรรมจักรครบ ๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐ จบ
  • – วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วันธรรมชัย สวดธรรมจักรครบ๖๖๒,๐๐๐,๐๐๐ จบ 

1.5 โครงการตักบาตร

  • 1) โครงการตักบาตรพระ 500,000 รูป 76 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย พ.ศ. 2551 จำนวน 165 ครั้ง, พ.ศ. 2552 จำนวน 82 ครั้ง, พ.ศ. 2553 จำนวน 134 ครั้ง (381 โครงการตามวาระ)
  • 2) โครงการตักบาตรพระ 1 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย พ.ศ. 2554 จำนวน 63 ครั้ง, พ.ศ. 2555 จำนวน 20 ครั้ง (83 โครงการตามวาระ)
  • 3) โครงการตักบาตรพระ 2 ล้านรูป 77 จังหวัดทุกวัดทั่วไทย พ.ศ. 2555 จำนวน 57 ครั้ง, พ.ศ. 2556 จำนวน 54 ครั้ง, พ.ศ. 2557 จำนวน 48 ครั้ง, พ.ศ. 2558 จำนวน 17 ครั้ง, พ.ศ. 2559 จำนวน 7 ครั้ง (183 โครงการตามวาะ) 
  • 4) โครงการตักบาตรพระ 10,000 รูป ณ ถนนรอบพระราชวังมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558 
  • 5) โครงการตักบาตรพระ 20,000 รูป บริเวณสนามบิน Chanmyatazi เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561
รวมโครงการตักบาตรจำนวน 649 โครงการ

1.6 โครงการธุดงค์/ธรรมยาตรา

  • 1) โครงการธรรมยาตรา เพื่อจัดวิทยากรไปบรรยายธรรมทั่วประเทศ จัดขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2529-2531 รวม 57 จังหวัด มีผู้เข้าฟังบรรยาย รวม 138,159 คน (57 โครงการตามวาระ)
  • 2) โครงการธุดงค์ปีใหม่ จัดเป็นประจำทุกปี เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 โดยเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้มาศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกันในช่วงวันหยุดปีใหม่สามารถร่วมกิจกรรมกันได้ทั้งครอบครัว
  • 3) โครงการธุดงค์แก้ว ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เริ่มปี พ.ศ. 2548 เพื่อให้สาธุชนมาทำสมาธิปฏิบัติธรรมถือศีล 8 นุ่งห่มขาว ถือธุดงควัตร ฝึกนิสัยรักสงบ มักน้อยสันโดษ ดังคำขวัญที่ว่า “อยู่กลดหมดทุกข์ พบสุขแท้จริง”
  • 4) โครงการธุดงค์ธรรมชัย เพื่อการฟื้นฟูวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2553 เปิดโอกาสให้พุทธบุตรจากโครงการอุปสมบทหมู่ในแต่ละโครงการได้ออกเดินธุดงค์บำเพ็ญสมณธรรม ฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ ทำหน้าที่พระแท้ และหาประสบการณ์จริงจากการธุดงค์ ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจในการบวชอยู่ต่อเป็นอายุและกำลังของพระพุทธศาสนา รวมถึงแก้ปัญหาวัดร้างด้วย
  • 5) โครงการธุดงค์อัญเชิญรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เพื่อประดิษฐาน ณ  พระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-6 เมษายน พ.ศ. 2555 โดยพระธุดงค์ จำนวน 1,500 รูป 
  • 6) โครงการธุดงค์อัญเชิญรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ไปประดิษฐาน ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยพระธุดงค์ จำนวน 1,500 รูป
  • 7) โครงการธุดงค์อัญเชิญรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ไปประดิษฐาน ณ วัดโบสถ์บน จังหวัดนนทบุรี ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 โดยพระธุดงค์ จำนวน 1,250 รูป  
  • 8) โครงการธุดงค์ธรรมชัย สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)  ปีที่ 1 เพื่อฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ขจัดปัดเป่าผองภัย และสร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-25 มกราคม พ.ศ. 2555 มีพระเดินธุดงค์ 1,127 รูป
  • 9) โครงการธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 2 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-27 มกราคม พ.ศ. 2556 มีพระเดินธุดงค์ 1,128 รูป
  • 10) โครงการธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ 3  “ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-28 มกราคม พ.ศ. 2557 มีพระเดินธุดงค์ 1,129 รูป 
  • 11) โครงการธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก ปีที่ 4 ระหว่างวันที่ 2-31 มกราคม พ.ศ. 2558 เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีพระภิกษุจำนวน 1,130 รูป เดินธุดงค์ผ่าน 7 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร 
  • 12) โครงการธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก ปีที่ 5 ระหว่างวันที่ 2-31 มกราคม พ.ศ. 2559 โดยมีพระภิกษุจำนวน 1,131 รูป เดินธุดงค์ผ่าน 7 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร 
  • 13) โครงการธรรมยาตรา เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 6 “รักษ์บวร รักษ์ศีล 5” น้อมถวายเป็นพุทธบูชาและบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา พุทธศักราช 2561ระหว่างวันที่ 2-31 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยมีพระภิกษุจำนวน 1,134 รูป และพุทธศาสนิกชนร่วมกันทำกิจกรรมบำรุงศาสนสถาน ทำความสะอาดวัดวาอาราม และทำพิธีทอดผ้าป่ากว่า 50 วัด ในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
รวมโครงการธุดงค์ / ธรรมยาตราจำนวน 69 โครงการ