Skip to content
1. นั่งขัดสมาธิ โดยขาขวาวางไว้บนขาซ้าย
2. มือขวาวางบนมือซ้าย นิ้วชี้ของมือขวาแตะปลายนิ้วโป้งของมือซ้าย วางไว้บนหน้าตัก สบายๆ
3. หลับตาของเราเบาๆ ค่อนลูก ไม่ต้องปิดเปลือกตาสนิท สบายๆ คล้ายๆกับตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าบีบหัวตา อย่ากดลูกนัยน์ตา ให้หลับตาสบายๆ
4. ขยับตัวของเราให้สบาย ให้เลือดลมเดินได้สะดวก จะได้ไม่ปวดเมื่อย ให้กล้ามเนื้อทุกส่วนผ่อนคลาย
5. ทำใจของเราให้ปลอดโปร่ง แช่มชื่น สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใส นึกน้อมใจของเรามาหยุดนิ่ง อย่างสบายๆ ถ้าใจยังไม่นิ่ง หรือมีความคิดฟุ้งซ่านอยู่ สามารถเลือกวิธีตามความถนัด ที่ทำแล้วรู้สึกใจสบาย ด้วยวิธี
ใดวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธี ดังต่อไปนี้
5.1 นึกน้อมใจของเรามาหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 (ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งถาวรของใจ ตำแหน่งฐานที่ 7 นี้ให้สมมติว่ามีเส้นด้าย 2 เส้น ดึงให้ตึง เส้นหนึ่งจากสะดือทะลุไปด้านหลัง อีกเส้นหนึ่งจากด้านขวาทะลุไปด้านซ้าย ให้เส้นด้ายทั้งสอง ตัดกันเป็นกากบาท จุดตัดมีขนาดเล็กเท่ากับปลายเข็ม เหนือจุดตัดนี้ขึ้นมา 2 นิ้วมือ จุดนี้เรียกว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7” )
5.2 กำหนดบริกรรมนิมิตขึ้นมาในใจ เป็นดวงแก้ว กลมใส บริสุทธิ์ ประดุจเพชรที่เจียรไนแล้ว ไม่มีรอยขีดข่วน ขนาดเท่ากับแก้วตาของเรา (กำหนดก็คือการนึกอย่างเบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ มีดวงแก้วใสบริสุทธิ์ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7)
5.3 บริกรรมภาวนาในใจว่า “สัมมา อะระหัง” “สัมมา อะระหัง” “สัมมา อะระหัง” โดยให้เสียงของคำภาวนาดังออกมาจากจุดกึ่งกลางของดวงแก้ว ภาวนาอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งใจหยุดนิ่ง เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว คำภาวนาก็จะค่อยๆ เลือนหายไปเอง ก็ไม่ต้องกลับไปภาวนาใหม่ ให้รักษาใจ หยุดนิ่งอย่างเดียว
5.4 นึกถึงพระพุทธรูปที่เราเคารพบูชา องค์ใดองค์หนึ่ง หรือนึกเป็นพระแก้วใสๆก็ได้ หรือนึกอาราธนาให้ท่านมาอยู่ในกลางกายของเรา ให้ท่านนั่งทำสมาธิหันหน้าไปทางเดียวกับตัวของเรา ให้นึกถึงองค์พระต่อเนื่องไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ
5.5 ส่วนท่านที่ไม่ถนัดในการนึกถึงดวงแก้ว หรือองค์พระ อยากจะวางใจให้หยุดให้นิ่งเฉยๆ ก็ได้ ให้ทำใจหยุดนิ่งๆ เฉยๆ อย่างสบายๆ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ก็ได้